028019000 [email protected]

พรบ รถยนต์

พรบ รถยนต์ คือ พระราชบัญญัติรถยนต์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ เพื่อคุ้มครองผู้ประสบภัยจากการใช้รถยนต์ เป็นการคุ้มครองเบื้องต้น ทำให้ผู้ประสบภัยได้รับความคุมครองทันทีหลังเกิดอุบัติเหตุ โดยเมื่อเกิดเหตุแล้วมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นเราเองหรือคู่กรณี ให้เราจ่ายเงินล่วงหน้าไปก่อนแล้วจึงมาเบิกกับ พรบ. เป็นอันดับแรก

เมื่อเราเบิกค่ารักษาพยาบาลกับทาง พ.ร.บ. รถยนต์ เรียบร้อยแล้วหากมีสิทธิ์ในการเบิกในทางอื่น เราถึงค่อยทำการเบิกต่อไปแล้วแต่ว่าใครจะมีสิทธิ์ในทางไหน อาทิเช่น ประกันอุบัติเหตุ ประกันภัยรถยนต์ ทั้งนี้เองทำให้ต้องมีกฎหมายบังคับให้รถทุกคันต้องมี พรบ ก่อนถึงจะทำการต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้ ซึ่งถ้าใครไม่ไป ต่อ พรบ. ส่งผลให้ พ.ร.บ. ขาด จะโดนเจ้าหน้าที่เรียกจับปรับได้ทุกเมื่อเลยนะครับ

พรบ รถยนต์

พรบ.รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง

พรบ. รถยนต์ ให้ความคุ้มครองกรณี ค่าเสียหายเบื้องต้น และ ค่าสินไหมทดแทน เรามาดูกันว่ามีอะไรบ้าง ?

1. ค่าเสียหายเบื้องต้น

ค่าเสียหายเบื้องต้นที่เราจะได้รับจาก พรบ.รถยนต์ จะได้รับไม่เกิน 7 วันทำการ โดยไม่ต้องรอตรวจหลักฐานว่าเราเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูก จะได้รับคนล่ะ 30,000 บาท หากเกิดการบาดเจ็บและได้รับคนละ 35,000 บาท หากเกิดการสูญเสียอวัยวะต่างๆตามที่ทาง พ.ร.บ.รถยนต์ ได้ระบุเอาไว้ ซึ่งมีการคุ้มครองเกี่ยวกับค่าเสียหายเบื้องต้น ดังนี้

  • กรณีได้รับบาดเจ็บ + สูญเสียอวัยวะ จะได้รับความคุ้มครองไม่เกิน 65,000 บาท / คน
  • กรณีเสียชีวิต จะได้รับความคุ้มครองเกี่ยวกับเงินค่าทำศพ 35,000 บาท/คน
  • กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลแล้วผู้บาดเจ็บเสียชีวิต จะได้รับเงินค่าชดเชยไม่เกิน 65,000 บาท / คน

2. ค่าสินไหมทดแทน

ค่าสินไหมทดแทนจะได้รับก็ต่อเมื่อมีการตรวจสอบหลักฐานต่างๆแล้วว่า เราเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูก ถ้าเราเป็นฝ่ายผิดจะไม่ได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนแม้แต่บาทเดียว เราต้องเป็นฝ่ายถูกเท่านั้นจึงจะได้รับเงินส่วนนี้ เรามาดูกันว่าถ้าเราได้รับ จะได้รับความคุ้มครองในกรณีใดบ้าง ดังนี้

  • สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลตามจำนวนเงินที่จ่ายจริงหรือไม่เกิน 80,000 บาท / ครั้ง
  • ได้รับเงินชดเชยหากเกิดการสูญเสียอวัยวะตามหลักเกณฑ์ที่ทาง พรบ รถยนต์ ระบุไว้ 200,000 – 300,000 บาท
  • ได้รับเงินชดเชยจากกรณีเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพถาวร (เน้นว่าต้องถาวรเท่านั้น) ถึงจะได้รับ 300,000 บาท
  • ได้รับเงินค่ารักษาพยาบาล สำหรับผู้ป่วยในวันละ 200 บาท เบิกได้ไม่เกิน 20 วัน รวมทั้งสิ้น 4,000 บาท

รวมค่าสินไหมทดแทนที่จะได้รับจาก พรบ.รถยนต์ ต่อคน ไม่เกินคนละ 304,000 บาท โดยที่ พ.ร.บ.รถยนต์ จะคุ้มครองกรณีที่เกิดเหตุกับรถยนต์ ไม่เกิน 2 คัน ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แต่ถ้ามีอุบัติเหตุกับรถยนต์มากกว่า 2 คันขึ้นไป ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่เป็นบุคคลที่ 3 จะได้รับความคุ้มครองจากบริษัทประกันภัย ที่เรียกกันว่า ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ก็คือ ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 , 2+ , 3+ , ชั้น2 , ชั้น3 นั่นเอง

ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์

การต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ สามารถทำได้หลากหลายวิธี และเอกสารที่ใช้ก็ไม่ยุ่งยากเหมิือนสมัยก่อน แถมระบุราคาชัดเจนว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ดังนั้นเรามาดูกันว่า ซื้อ พรบ.รถยนต์ จะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ใช้เงินเท่าไหร่ และสามารถทำได้ที่ไหนบ้าง ดังนี้

ต่อ พรบ.รถยนต์ ใช้เอกสารอะไรบ้าง

  1. ทะเบียรถ หรือ สำเนาทะเบียนรถ
  2. บัตรประชาชน หรือ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

ต่อ พรบ.รถยนต์ ราคา

  1. พรบ.รถยนต์ ราคาแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของรถ โดยมีรายละเอียดดังนี้

รถยนต์นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง)                         = 645.21  บาท

รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง รถตู้      = 1,182.35  บาท

รถยนต์โดยสารเกิน 15 คน  ไม่เกิน 20 ที่นั่ง          = 2,203.13  บาท

รถยนต์โดยสารเกิน 20 คน  ไม่เกิน 40 ที่นั่ง          = 3,437.91  บาท

รถยนต์โดยสารเกิน 40 ที่นั่ง                              = 4,017.85  บาท

รถยนต์บรรทุกไม่เกิน 3 ตัน (ปิคอัพ)                    = 967.28   บาท

รถยนต์บรรทุกเกิน 3 ตัน ถึง   6 ตัน                     = 1,310.75  บาท

รถยนต์บรรทุกเกิน 6 ตัน ถึง 12 ตัน                     = 1,408.12  บาท

รถยนต์บรรทุกเกิน 12 ตัน                                 = 1,826.49  บาท

ต่อ พรบ รถยนต์ ที่ไหนดี

  1. เดินทางไปที่ กรมการขนส่งทางบก โดยติดต่อเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ รับบัตรคิว และนั่งรอเรียก ควรเตรียมเอกสารให้พร้อม เนื่องจากมีหลายท่านนั่งรอเป็นชั่วโมง พอถึงคิวตนเองเอกสารไม่ครบ โดนไล่กลับบ้านไปเอาเอกสารกันทั่วหน้า ดังนั้นผมบอกไปแล้วว่าใช้อะไรบ้าง ก่อนออกจากบ้านก็ตรวจสอบเอกสารให้เรียบร้อยด้วยนะครับ จะได้ไม่เสียเวลาฟรีๆ
  2. ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยการเข้าไปที่เว็บไซต์ : ต่อ พรบ.รถยนต์ ออนไลน์ และทำตาม 4 ขั้นตอนดังนี้
    – ขั้นตอนที่1 ลงทะเบียนสมาชิกใหม่ เพื่อกรอกข้อมูลและยืนยันตัวตน สมัครเพียงแปปเดียวเท่านั้น
    – ขั้นตอนที่2 กรอกข้อมูลทั่วไปให้ครบถ้วน ( ย้ำว่าข้อมูลขอให้เป็นข้อมูลจริง เพื่อสะดวกในการจัดส่งเอกสาร )
    – ขั้นตอนที่3 กรอกข้อมูลรถยนต์ ทะเบียนรถ และผู้ครอบครองรถยนต์
    – ขั้นตอนที่4 ชำระเงินผ่านบัครเครดิต หรือนำ reference no. ไปชำระได้ที่เคาน์เตอร์ธนาคารหรือเคาน์เตอร์เซอร์วิส เมื่อทำการชำระเรียบร้อยแล้ว กรมขนส่งทางบก จะส่งเอกสาร พ.ร.บ. รถยนต์ และ ทะเบียนรถ ทางไปรษณีย์มาสถานที่ที่ท่านกรอกข้อมูลเอาไว้ภายใน 7 วันทำการ

พรบ รถยนต์

พรบ รถยนต์พรบ รถยนต์ พรบ รถยนต์

การทำ พรบ รถยนต์ เป็นความจำเป็นอย่างมาก ยิ่งกฎหมายบังคับทำให้เราต้องปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด อันที่จริงไม่บังคับเราก็สมควรทำนะครับ เพราะก็เห็นอยู่ว่าประโยชน์ที่ได้รับเกิดข้อดีกับตัวเราเองมากมาย ไม่ว่าจะเป็น คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล คุ้มครองคู่กรณี และยังสามารถใช้ได้ทันทีที่เกิดเหตุ โดยไม่ต้องรอตรวจสอบใดๆทั้งสิ้น หากใครที่กำลังจะปล่อย พรบ.รถยนต์ ให้ขาดอายุ ผมแนะนำรีบไปต่อให้เรียบร้อยนะครับ


ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : kapook.com
เรียบเรียงโดย : ประกันภัยรถยนต์

 

พรบ รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง

ว่าด้วยเรื่องของ พ.ร.บ. รถยนต์ ส่วนใหญ่จะรู้จักกันดีเป็นเพราะว่าถูกกฎหมายบังคับให้ทำ  ทำทุกปี ถ้าหมดอายุ แล้วไม่ต่อ เรามีความผิดน่ะ รู้ยัง..?
ถามว่าทำ พ.ร.บ. รถยนต์ เพื่ออะไร บางคนนี่ยิ่งกว่าอีก ไม่รู้ด้วยซ้ำ ทำๆไปเพราะถูกบังคับ โดยไม่รู้เสียว่าภายในมีดีอะไร อย่ามองกันที่เปลือกนอก !!
(more…)