5 โรคห้ามขับรถ ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
โรคห้ามขับรถ เพิ่มเติมจากเดิมประกาศโดยกรมการขนส่งทางบก โดยเพิ่มทั้งหมด 5 โรค เป็นการปรึกษาหารือระหว่างกรมการขนส่งทางบกกับแพทสภา เนื่องจากว่าวันที่ 4 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมามีอุบัติเหตุรถชนในพื้นที่เมืองพัทยาส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก ซึ่งสาเหตุมาจากผู้ขับขี่เป็น โรคลมชัก
นายกมล บูรณพงศ์ รองอธิบดีกรมขนส่งฯ ได้ออกมาเปิดเผยว่า ณ ปัจจุบัน กรมขนส่งทางบกได้มีการปรับแก้ไขกฎกระทรวงเพื่อกำหนดเงื่อนไขการขอใบอนุญาตขับขี่ โดยจะเพิ่มโรคที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในการขับขี่บนท้องถนน ในเบื้องต้นได้ข้อสรุปว่ามีการเพิ่ม 5 โรคแน่นอน โดยมีโรคที่ห้ามขับรถหรือขอใบขับขี่ ดังนี้
- โรคลมชัก
โรคลมชัก เกิดจากสาเหตุหลายปัจจัยด้วยกัน และสามารถเกิดขึ้นกับทุกเพศทุกวัย อาทิเช่น เกิดจากพันธุกรรม หรือความผิดปกติของระบบไฟฟ้าในสมอง ซึ่งถ้าสมองถูกกระตุ้นมากเกินไปจะทำให้ผู้ป่วยโรคลมชักเกิดอาการชักได้ทันที โดยความรุนแรงขึ้นอยู่ที่ว่าสมองของผู้ป่วยส่วนไหนที่ถูกกระตุ้น อาทิเช่น สมองส่วนที่ควบคุมแขนขา เมื่อถูกกระตุ้นจะเกิดอาการเกร็งและส่งผลให้แขนขาเกิดการกระตุก แต่ถ้าเกิดกระตุ้นสมองด้านการควบคุมการรับรู้จะทำให้เกิดอาการเบลอ เหม่อลอย ซึ่งเป็นเหตุผลที่โรคลมชักเป็นหนึ่งในโรคห้ามขับรถ ที่กรมการขนส่งทางบกได้ปรึกษากับแพทสภา
- โรคเบาหวานร้ายแรง
โรคเบาหวาน สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่ก็ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ อาทิเช่น โรคอ้วน อ้วนเกินไปทำให้มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ ไม่หมั่นออกกำลังกาย ไขมันในเลือดสูง มักกินของหวานหรือน้ำอัดลมก็สามารถทำให้เป็นโรคเบาหวานได้
- โรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง คือ โรคที่ทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งและตีบ โดยเมื่อหัวใจบีบตัวจะส่งเลือดไปยังหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดความดันโลหิต ความดันโลหิตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย อาทิเช่น ความเครียด การออกกำลังกาย การนอนหลับ โดยโรคความดันโลหิตสูงยังทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคอัมพาต ซึ่งส่งผลทำให้เสียชีวิตได้
- ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดสมองมาก่อน
ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดสมองมาก่อน ทางกรมขนส่งทางบก ระบุเอาไว้ว่ามีความเสี่ยงต่อการขับขี่รถ เนื่องจาก สมองเป็นส่วนควบคุมร่างกายในการสั่งการและสร้างการรับรู้ เคยมีผู้ขับขี่ที่เคยผ่าตัดสมองและขับขี่รถเกิดอาการอ่อนเพลียและรถเสียหลักทำให้เกิดอุบัติเหตุและการสูญเสีย
- โรคหัวใจ
โรคหัวใจ คือ โรคที่มีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด มีสาเหตุมาจากหลอดเลือดแข็ง ไขมันเกาะจับเส้นโลหิต ไขมันในเลือดสูง มักพบในคนอ้วนหรือผู้สูงอายุ และเสี่ยงต่อการวูบในการขับขี่รถ ทำให้กรมขนส่งทางบกห้ามผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ขับขี่หรือขอใบอนุญาตขับขี่ ถือเป็นโรคห้ามขับรถ ที่มีผลกระทบต่อการขับขี่โดยตรง
โดยทางกรมขนส่งฯ เปิดเผยอีกว่าอีกประมาณ 2-3 เดือนจะสามารถบังคับใช้ได้ และจะไม่มีการแก้ไขใดๆทั้งสิ้น เนื่องจากว่าได้หารือกันมาหลายรอบแล้ว แต่ด้วยที่ทางกรมขนส่งฯต้องปรึกษากับแพทสภาทำให้เกิดการล่าช้าในการปรับแก้กฎกระทรวง จึงต้องร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆด้วย ทำให้ โรคห้ามขับรถ เพิ่มจากเดิม 5 โรค คือ โรคเท้าช้าง วัณโรค โรคเรื้อน โรคพิษสุราเรื้อรัง ติดยาเสพติดให้โทษ แก้ไขอีก 5 โรค รวมเป็น 10 โรคที่ห้ามขับขี่รถ ถือเป็นการลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุในท้องถนนได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว
แนะนำและเรียบเรียงโดย : Easyinsurebroker.com