028019000 [email protected]

เบี้ยประกันภัยรถยนต์

เบี้ยประกันภัยรถยนต์ 

เบี้ยประกันภัยรถยนต์ คือ จำนวนเงินที่ผู้เอาประกันจะต้องชำระให้แก่บริษัทประกันภัย เพื่อซื้อความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตกับรถยนต์ ทรัพย์สิน ของตัวเราเองและบุคคลภายนอก

เบี้ยประกัน คือ ค่าตอบแทนที่บริษัทประกันจะได้รับ เกิดจากการที่รับความเสี่ยงแทนผู้เอาประกัน ไม่ว่าจะเป็น ประกันภัย ประกันชีวิต ทุกๆอย่างที่ขึ้นชื่อว่ารับประกัน

จะต้องได้รับค่าตอบแทนเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกัน นั่นก็เป็นที่มาของ เบี้ยประกัน

เมื่อพูดถึงการ ทำประกันภัยรถยนต์ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์และถูกต้อง จะต้องประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลักๆ ดังนี้

1. บริษัทประกันภัยรถยนต์ คือ บริษัทประกันที่เป็นผู้รับทำประกันภัยรถยนต์ เพื่อประกันความเสี่ยงเกี่ยวกับรถยนต์และทรัพย์สินของผู้เอาประกันกับบุคคลภายนอก โดย บริษัทประกันภัยรถยนต์ สามารถแยกออกได้เป็น 3 ส่วน ดังนี้

1.1 บริษัทประกันภัย คือ บริษัทประกันที่รับทำประกันภัยโดยตรง อาทิเช่น วิริยะประกันภัย เมืองไทยประกันภัย อาคเนย์ประกันภัย เป็นต้น
1.2 โบรกเกอร์ประกันภัย หรือ โบรคเกอร์ประกันภัย คือ นายหน้าประกันภัย ที่รับทำประกันและไม่ใช่พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของบริษัทประกัน เป็น นิติบุคคล หรือ องค์กร ที่แยกออกมาจาก บริษัทประกันภัย ส่วนใหญ่จะโดดเด่นในเรื่องของ บริการและการดูแลลูกค้า
1.3 ตัวแทนประกันภัย คือ ตัวแทนขายประกันภัย เป็นส่วนหนึ่งของ บริษัทประกันภัย เปรียบเสมือนกับพนักงานของบริษัทประกัน อาทิเช่น ตัวแทนวิริยะประกันภัย รับชำระ เบี้ยประกันภัย แทนบริษัทประกันภัย นั่นเอง

2. ผู้เอาประกันภัย คือ ผู้ที่ต้องการทำประกันภัย ต่อประกันภัย ผ่อนประกันภัย โดยจะต้องชำระค่า เบี้ยประกันภัย ให้กับบริษัทประกัน เพื่อซื้อความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยที่บริษัทประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบแทนผู้เอาประกันตามรายละเอียดที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

3. กรมธรรม์ประกันภัย คือ หนังสือสัญญา ที่เป็นเอกสารหรือหลักฐานที่ระบุข้อตกลง ทุนประกันภัย เบี้ยประกันภัยรถยนต์ ความคุ้มครอง และรายละเอียดต่างๆ เพื่อเป็นหลักฐานเวลาเกิดอุบัติเหตุ หรือ ไม่ได้รับความเป็นธรรม ซึ่งสามารถร้องเรียนได้ที่ คปภ.

4. เบี้ยประกันรถยนต์ คือ ค่าตอบแทนที่บริษัทประกันจะได้รับจากผู้เอาประกันภัยในการประกันความเสี่ยงที่เกี่ยวกับรถยนต์ บุคคล และ ทรัพย์สิน ซึ่งผู้เอาประกันจะต้องชำระให้กับบริษัทเต็มจำนวน เพื่อรับความคุ้มครองทันที

แล้วทำไมถึงต้องทำประกัน อาจเป็นเพราะว่า ชีวิตของเราทุกคนยังคงมีความเสี่ยงที่ไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ อาทิเช่น ประกันภัยรถยนต์ คือการประกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับรถยนต์ ในอนาคต เช่น ไฟไหม้รถ น้ำท่วมรถ รถหาย การชน เป็นต้น และนั่นเองก็เป็นจุดกำเนิดของ บริษัทประกัน ทั้งหลาย ที่มีหน้าที่เข้ามารับความเสี่ยงแทนผู้เอาประกัน โดยรับค่าตอบแทนเป็น ค่าเบี้ยประกันภัย

ดังนั้น คำว่า เบี้ยประกัน จึงเปรียบเสมือนเป็นค่าตอบแทน หรือค่าสินน้ำใจ ให้กับบริษัทประกันภัย โบรกเกอร์ประกันภัย ตัวแทนประกันภัย ที่เข้ามาทำหน้าที่รับความเสี่ยงแทนผู้เอาประกันภัย และเกิดผู้เอาประกันเกิดอุบัติเหตุขึ้น บริษัทประกันหรือผู้รับประกันจะเป็นผู้ชดใช้ค่าเสียหาย ตามที่ได้ตกลงกันไว้ ในกรมธรรม์นั่นเอง

ถ้าให้พูดถึง เบี้ยประกันรถยนต์ จริงๆแล้วก็คือ จำนวนเงินจำนวนหนึ่ง ที่ผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถ หรือเรียกกันว่า ผู้เอาประกันภัย จะต้องจ่ายให้กับบริษัทประกันภัยรถยนต์ ตามข้อตกลงที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ โดยที่จำนวนค่า เบี้ยประกันภัยรถยนต์ ไม่มีคำว่าตายตัว ขึ้นอยู่กับประเภทและชนิดของประกันภัยที่เราทำ ทั้งนี้ก็รวมไปถึง ลักษณะความคุ้มครองที่ผู้เอาประกันเลือกเอาไว้นั่นเอง ซึ่งหากว่าผู้เอาประกันเลือกการคุ้มครองความเสี่ยงไว้มาก ก็จะส่งผลให้ค่า เบี้ยประกัน แพงขึ้น ส่วนผู้เอาประกันคนใดที่เลือกการคุ้มครองความเสี่ยงน้อย ก็จะมีเบี้ยประกันถูกลงมาตามลำดับ

การเก็บเบี้ยประกันภัยรถยนต์ บริษัทประกันจะมีการคิดวิเคราะห์ผลกำไรที่ได้จากการรับความเสี่ยง เพื่อให้เงินทุนที่มีสามารถหมุนเวียนภายในบริษัทได้อย่างคล่องตัว เพราะบริษัทประกันเองก็ไม่อาจรู้ได้ว่าจะมีรถจำนวนที่คันที่ตนรับความเสี่ยงเอาไว้ เกิดอุบัติเหตุบ้างในวันๆนึง การวางแผนคิดค่า เบี้ยประกันรถยนต์ จึงต้องมีความรอบคอบ และเล็งเห็นแล้วว่ามีความเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย

จ่ายค่าเบี้ยประกันรถยนต์ ยังไงให้คุ้มครองต่อเนื่อง ผู้เอาประกันภัยจะต้องชำระค่า เบี้ยประกันภัย ให้กับบริษัทประกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดการคุ้มครองอย่างต่อเนื่อง โดยอาจจะชำระเป็นรายปีหรือรายเดือน ขึ้นอยู่กับข้อตกลงที่ผู้เอาประกันภัยกับบริษัทประกันตกลงกันไว้ ไม่ว่าจะเป็นการ ทำประกัน หรือ ต่อประกัน หรือแม้แต่ ผ่อนประกัน นั่นเอง

เบี้ยประกันภัยแต่ละบริษัทประกัน จะมีความแตกต่างกันออกไป ถึงแม้ว่าจะเป็นประกันประเภทเดียวกัน มีความคุ้มครองเหมือนกัน ทำไมถึงค่าเบี้ยประกันแตกต่างกัน เป็นเพราะความน่าเชื่อถือของบริษัทประกันที่แตกต่างกันออกไป เงื่อนไขที่แตกต่างกัน ส่วนลดหย่อนต่างๆ สิทธิพิเศษที่จะได้รับ ต้นทุนของบริษัทประกัน ทุนจดทะเบียน ลักษณะการบริหารงานในองค์กร และปัจจัยอื่นๆอีกหลายอย่าง

 

อย่างที่บอกไปข้างต้นว่า เบี้ยประกันภัยรถยนต์ ที่เกิดจากการวิเคราะห์คำนวณของบริษัทประกัน จะต้องไม่ดูแพงจนน่าเกียจ หรือ ถูกไปจนบริษัทประกันอยู่ไม่ได้ ทุกอย่างจะมีความเหมาะสมและความเป็นกลาง เมื่อเทียบกับ ประกันที่ผู้เอาประกันเลือกไว้ ซึ่งผู้เอาประกันจะต้องมีความพึงพอใจ กับค่า เบี้ยประกันรถ ที่บริษัทประกันเสนอมา ถึงจะสามารถเกิดสัญญากรมธรรม์ขึ้นมาได้นั่นเอง

 

เบี้ยประกันภัยรถยนต์ คือ ราคาสุทธิหรือราคาที่ถูกคิดรวมมาแล้วทั้งหมด ออกมาเป็นจำนวนเงินเพื่อเสนอให้กับผู้เอาประกัน ซึ่งจะมีส่วนประกอบ ดังนี้

เบี้ยประกันภัยรถยนต์ = เบี้ยประกันสุทธิ + อากรแสตมป์ + ภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • อากรแสตมป์ = 0.04% ของเบี้ยประกันสุทธิ เศษสตางค์ปัดขึ้น
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT = 7% ของ (เบี้ยประกันสุทธิ + อากรแสตมป์)

ตัวอย่าง:
เบี้ยประกันสุทธิ 20,000.00 บาท
อากรแสตมป์ 80.00 บาท
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 702.80 บาท
——————-
เบี้ยประกันรวม 21,485.60 หรือ 21,486 บาท นั่นเอง

ในกรณีที่ผู้เอาประกันเป็นนิติบุคคล และต้องการหักภาษี ณ ที่จ่าย อัตราที่ต้องหักคือ 1% ของยอด (เบี้ยประกันสุทธิ + อากรแสตมป์) จากตัวอย่างข้างต้น สามารถคำนวณยอดภาษีหัก ณ ที่จ่าย ได้ดังนี้

ยอดหัก ณ ที่จ่าย = 0.01 x (20000 + 80) = 200.80 บาท

หมายเหตุ:

  • เบี้ยประกันสุทธิ, อากร, vat และเบี้ยรวม สามารถดูได้จากหน้าตารางกรมธรรม์
  • หากต้องการหัก ณ ที่จ่าย ควรแจ้งให้ตัวแทน/นายหน้าทราบตอนแจ้งทำประกัน
  • ที่มาของการคิดอากรแสตมป์ คือ ทุกจำนวนเงิน 250 บาท หรือเศษของ 250 บาทของเบี้ยประกัน คิดอากร 1 บาท

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเจาะลึก เบี้ยประกันภัยรถยนต์ ที่ผมได้แนะนำไปข้างต้น อันที่จริงเบี้ยประกันภัยจะมีการเพิ่มหรือลดลง ขึ้นอยู่กับ แคมเปญ โปรโมชั่น ส่วนลด ที่อาจเกิดขึ้น หรือการซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมนั่นเอง และอาจเปลี่ยนแปลงได้จาก รุ่นรถ ปีของรถ ปัจจัยอีกมากมาย เพราะ เบี้ยประกันรถยนต์ ไม่มีคำว่าตายตัว ยังไงบทความดีๆแบบนี้ผมก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านไม่มากก็น้อยนะครับ


แนะนำโดย : www.easyinsurebroker.com