เกียร์ออโต้
เกียร์ออโต้ คือ เกียร์รถยนต์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง โดยจะพบว่าในกรุงเทพมหานคร มีรถยนต์หนาแน่นและการจราจรติดขัด ทำให้ผู้ขับขี่หลายคนหันมาเลือกใช้เกียร์ออโต้ โดยลักษณะของเกียร์ออโต้ การใช้งานจะไม่เหมือน เกียร์ธรรมดา หรือ รถยนต์เกียร์กระปุก อาจเป็นเพราะว่า การขับรถเกียร์ออโต้ มีความสะดวกสบายกว่า
และบางคนบอกว่าระบบเกียร์ออโต้ ใช้งานง่ายกว่า ดังนั้นเรามาดูกันว่า เกียร์ออโต้ที่ใครๆก็บอกขับขี่ง่ายดาย เป็นเรื่องจริงหรือไม่
เกียร์ออโต้ดีไหม
ถ้าไม่นับเรื่องความถนัดของตัวเองการ ใช้เกียร์ออโต้ จะมีความสะดวกสบายอย่างมาก อาทิเช่น ไม่ต้องมาคอยเหยียบคลัทช์ ให้เหมื่อยขา ไม่ต้องเปลี่ยนเกียร์ ให้เหมื่อยมือ พูดง่ายๆคำว่า ออโต้ คือระบบปฎิบัติการแทนเรานั่นเอง แต่ไม่ใช่มาขับแทนเราน่ะ แบบนั้นจะเป็นอีกประเภทที่ปัจจุบันมีการนำข่าวออกมาแล้วว่ามีรถที่สามารถใช้ระบบออโต้ขับขี่ได้แล้ว แต่ในเมื่อเรายังต้องขับขี่เองอยู่ทุกวันด้วยเกียร์ออโต้ จึงทำให้เราต้องเรียนรู้ระบบเกียร์ ก่อนใช้งานเพื่อนำไปปฎิบัติในการขับขี่จริงต่อไป เรามาดูกันต่อเลยว่า รถเกียร์ออโต้ มีระบบอะไรบ้าง
ระบบเกียร์ออโต้
- ตำแหน่ง P (Parking) เป็นตำแหน่งเกียร์ที่ใช้สำหรับ การจอดรถยนต์ โดยการใช้เกียร์ P จะต้องกระทำเมื่อรถยนต์ของเราจอดอยู่กับที่ ต้องการดับเครื่องยนต์ หรือต้องการจอดรถในพื้นที่ลาดชัน โดยถ้าเลื่อนเกียร์ไปตำแหน่ง P ในพื้นที่ลาดชันแนะนำว่าให้ดึงเบรคมือช่วย เนื่องจากว่าเป็นการรักษาระบบเกียร์ไม่ให้ เกียร์ออโต้พัง และยังเป็นการช่วยทุ่นแรงให้กับระบบเกียร์ ซึ่งระบบเกียร์ออโต้จะล็อคล้อไว้ไม่ให้รถเคลื่อน และหากว่าต้องการสตาร์ทรถ ตำแหน่งเกียร์จะต้องอยู่ที่ตำแหน่ง P นั่นเอง
- ตำแหน่ง R (Reverse) เราจะใช้เมื่อเราต้องการ ถอยรถเข้าซอง หรือ บังคับให้รถถอยหลัง โดยเมื่อเราเลื่อนเกียร์ไปตำแหน่ง R แนะนำว่าเหยียบเบรคสักนิด เนื่องจากว่ารถจะถอยหลังทันที โดยไม่ต้องเหยียบคันเร่ง ถ้าต้องการเร่งให้ถอยเร็วขึ้น แนะนำว่าให้ผู้ขับขี่ค่อยๆเหยียบคันเร่งตามความต้องการ เพื่อให้รถถอยเร็วขึ้น แต่ก็ต้องระวังพื้นที่รอบๆตัวรถให้ดี เนื่องจากอาจเกิดอุบัติเหตุได้ อาทิเช่น ถอยรถชนสิ่งของ ถอยรถชนคน ถอยรถชนสัตว์ ถ้าเราถอยไปช้าๆและสังเกตุรอบข้างสักนิด รับรองว่าเรื่องแบบนี้จะไม่เกิดขึ้นแน่นอน
- ตำแหน่ง N (Neutral) บางคนเรียกเกียร์ N บางคนเรียก เกียร์ว่าง ลักษณะการใช้งานจะคล้ายๆเกียร์ P แต่จะไม่เหมือนกันซะทีเดียว เนื่องจากว่าเกียร์ว่าง ใช้เมื่อต้องการจอดรถยนต์ชั่วคราวเท่านั้น อาทิเช่น จอดรถติดไฟแดง จอดรถข้างทางชั่วคราว หรือ จอดรถยนต์ในห้างและเป็นการบังหน้ารถยนต์คันอื่น หรือเรียกว่า จอดซ้อนคัน ให้ปลดเกียร์ว่างเอาไว้ เนื่องจากว่าเกียร์ว่าง จะทำให้รถยนต์ของเราเข็นไปมาได้ แต่อย่าลืมปลดเบรคมือด้วยนะครับ ไม่อย่างนั้นก็เข็นไม่ได้อยู่ดีนั่นเอง
- ตำแหน่ง D เกียร์เดินหน้าปกติ ใครขับรถ เกียร์ออโต้ และไม่รู้จักตำแหน่ง D ถือว่าไม่ได้ขับจริง เนื่องจากว่าคงไม่มีคนไหนที่ใช่เกียร์ R เพื่อเดินหน้าจริงไหมล่ะครับ ฉะนั้นเมื่อเราเลื่อนเกียร์ไปที่ตำแหน่ง D รถจะค่อยๆเลื่อนไปข้างหน้าโดยที่เราไม่จำเป็นต้องเหยียบคันเร่ง จนกระทั่งเราต้องการใช้ความเร็วมากขึ้น ก็ให้เหยียบแป้นคันเร่ง เกียร์จะถูกเปลี่ยนอัตโนมัติ อาทิเช่น 1 2 3 4 ตามลำดับ ขึ้นอยู่ไปรุ่นของรถ เพราะบางรุ่นก็มีมากกว่า 5 เกียร์
- เกียร์ D 3 หรือ 3 ส่วนใหญ่มักจะเรียกว่าเกียร์เดินหน้า 3 Speed การใช้งานจะใช้ขณะที่ผู้ขับขี่ขับรถขึ้นลงเขาที่ไม่มีความชันมากนัก อาทิเช่น ขับรถขึ้นสะพาน ขับรถขึ้นเขา ที่มีความชันน้อย โดยเกียร์จะเปลี่ยนจากเกียร์ 1 ไปเกียร์ 2 โดยอัตโนมัติ โดยจะเปลี่ยนสูงสุดถึงเกียร์ 3 ซึ่งเกียร์สามจะสามารถใช้เพื่อแซงรถยนต์ ให้รวดเร็วขึ้นอีกด้วย ในการแซงรถยนต์เกียร์จะถูกเปลี่ยนจากเกียร์ D4 ที่เราวิ่งกันทั่วไปเป็นเกียร์ D3 ทำให้เครื่องรถยนต์มีพละกำลังมากขึ้นและสามารถแซงรถยนต์คันหน้า ได้อย่างรวดเร็ว
- เกียร์ D 2 หรือ 2 ใครที่ใช้ เกียร์ออโต้ และชอบขึ้นลงเขา แต่ไม่รู้จักเกียร์เดินหน้า 2 Speed คงเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากว่าเกียร์ D2 เป็นเกียร์ที่ใช้สำหรับขึ้นลงเขาโดยเฉพาะ โดยรถยนต์จะเปลี่ยนเกียร์ 1 ไปเป็นเกียร์ 2 เพื่อเพิ่มความเร็วขณะรถขึ้นเขานั่นเอง
- L (Low) หรือ เกียร์ 1 เป็นเกียร์ที่สามารถช่วยในการควบคุมเบรคและชะลอความเร็วขณะขับรถขึ้น ลง เขา ที่สูงชันมากๆ เป็นเกียร์ที่กำหนดให้เครื่องยนต์ใช้รอบต่ำ นำแนะว่าใครลงเขาให้ใช้เกียร์ L เนื่องจากจะไม่ต้องเหยียบเบรคมากจนเป็นที่มาของ ผ้าเบรคไหม้ และ ผ้าเบรคหมด
วิธีขับรถเกียร์ออโต้
การใช้เกียร์ออโต้ เป็นการใช้ เกียร์อัตโนมัติ ที่สามารถช่วยในการขับเคลื่อนรถยนต์ให้สะดวกแก่ผู้ขับขี่ ดังนั้นก่อนจะขับรถเกียร์ออโต้ จะต้องรู้ระบบการทำงานโดย ระบบเกียร์ออโต้ เพื่อการขับขี่ที่ปลอดภัย
- ก่อนจะสตาร์ทเครื่องยนต์ จะต้องสังเกตุให้ตำแหน่งเกียร์อยู่ที่เกียร์ P เท่านั้น ซึ่งถ้าไม่อยู่ที่เกียร์ P ส่วนใหญ่จะไม่สามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ได้
- การจอดรถยนต์ แนะนำว่าให้ใช้เกียร์ P ให้เคยชิน บางคนแค่ลงหยิบของเลยใส่เกียร์ N ไว้ทำให้รถยนต์ไหลไปชนคันข้างหน้า นอกจากจะทำให้เกิดความเสียหายขึ้นยังทำให้เกิดการเสียเวลาอีกด้วย
- ถ้าเกิดว่าต้องการเปลี่ยนเกียร์ไปตำแหน่งอื่น อาทิเช่น เปลี่ยนจากเกียร์ P หรือเกียร์ N ไปเกียร์ D หรือเกียร์ R แนะนำว่าให้รถจอดสนิทเสียก่อนจึงเปลี่ยนเกียร์ และเหยียบเบรคทุกครั้งเพื่อกันรถไหลไปข้างหน้าหรือถอยหลัง
- จอดรถติดไฟแดง ประมาณ 1-2 นาที แนะนำว่าควรให้เกียร์อยู่ตำแหน่งเกียร์ D และทำการเหยียบเบรคแทน หรือถ้าจอดติดไฟแดงนานกว่านั้นให้เปลี่ยนเป็นเกียร์ N แล้วดึงเบรคมือแทน
- น้ำมันเกียร์ออโต้ ควรเปลี่ยนทุกๆ 6 เดือนหรือปีละ 2 ครั้ง เนื่องจากสภาพอากาศในประเทศไทย ร้อนจัดจะทำให้น้ำมันระเหยสู่อากาศ สาเหตุมาจาก สภาพอากาศร้อนจัด หรือ การจราจรติดขัด จะเห็นได้จากกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย ส่งผลให้แรงน้ำมันสูง ต่ำ ไม่คงที่ทำให้ระบบเกียร์ มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้น
วิธีขับรถเกียร์ออโต้ขึ้นเขาลงเขา
การขับรถขึ้นลงเขาด้วยรถยนต์เกียร์ออโต้ จะต้องศึกษาข้อมูลให้เป็นอย่างดี ดังนั้นวันนี้เรามาดูการ ขึ้นเขาด้วยรถยนต์เกียร์ออโต้ กันว่าสามารถทำได้อย่างไรและวิธีไหนบ้าง ซึ่งบอกเลยว่าง่ายกว่า ขับรถขึ้นเขาเกียร์ธรรมดา ขับรถลงเขาเกียร์ธรรมดา นอกจากจะทำให้เรามีความรู้แล้วยังลดการเกิดอุบัติเหตุซึ่งมีผลต่อการทำ รถยนต์เสียหาย ได้อีกด้วย เรามาดูเทคนิคการขึ้นเขาลงเขา กันได้เลย
-
ขับรถเกียร์ออโต้ขึ้นเขา
การขับรถยนต์เกียร์ออโต้ขึ้นเขา เป็นการขับรถขึ้นทางลาดชัน ที่จะต้องใช้รอบเครื่องสูงขึ้น โดยจะต้องใช้เกียร์ 1 และเกียร์ 2 ซึ่งมีแรงขับมากกว่าทุกเกียร์ แต่ถ้าหากว่าทางขึ้นเขามีความชันมากและเริ่มรู้สึกว่าลดเริ่มไม่มีแรงขับ ให้ผู้ขับขี่เปลี่ยนเกียร์ L แทนเพื่อขับเคลื่อนอย่างรวดเร็ว
-
ขับรถเกียร์ออโต้ลงเขา
การขับรถยนต์เกียร์ออโต้ลงเขา จะต้องใช้รอบเครื่องต่ำลง แต่ด้วยความลาดชันขาลงเขาไม่ค่อยใช้แรงขับเคลื่อนมากเท่าไหร่ แต่จะเป็นการลดแรงขับลงเพื่อไม่ให้รถของเราไหลลงเขาอย่างรวดเร็ว เพราะเสี่ยงต่ออุบัติเหตุและเกิดการสูยเสียได้ การชะลอความเร็วรอบเครื่องตอนลงเขา นอกจากทำให้เราเข้าโค้งได้อย่างมั่นใจ ยังมีอีกข้อที่ห้ามทำเลยก็คือ ห้ามใช้เกียร์ว่าง หรือเกียร์ N หรือดับรถ แล้วปล่อยรถลงเขาเด็ดขาด
-
ระมัดระวังทางโค้ง
การขึ้นลงเขาจะมีถนนที่เป็นเส้นทางโค้งไปมา เนื่องจากถนนส่วนใหญ่จะตัดรอบๆภูเขาทำให้ทางคดเคี้ยว จึงต้องใช้ความระมัดระวังสูง และควรขับรถชิดซ้ายเพื่อไม่ให้เกิดการชนกับรถที่สวนเลนมา และสามารถหลบหลีกได้ทันท่วงที
-
ห้ามแซง
กฎเหล็กของการขับรถขึ้นลงเขาเลย คือ ห้ามแซง เพราะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ เนื่องจากทางที่คตเคี้ยวและมีต้นไม้บดบังอยู่ จึงไม่ควรแซงในเขตห้ามแซง โดยเฉพาะทางโค้ง เพราะไม่สามารถเห็นรถฝั่งตรงข้ามได้ และอุบัติเหตุส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นระหว่างทางขึ้นลงเขา ก็คือ แซงทางโค้ง นั่นเอง
-
คำนวณระยะเบรคในทางลงเขา
การขับรถลงเขาจะเป้นการส่งแรงขับลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจเกิดจากน้ำหนักรถ และความเร็วที่ใช้ ดังนั้นการขับรถลงเขาควรคำนวณระยะในการเบรค เพื่อสามารถเบรคได้ทันและไม่ไปชนคันข้างหน้า
-
เร่งเครื่องยนต์อย่างสม่ำเสมอ
การเร่งรอบเครื่องรถยนต์อย่างสม่ำเสมอ เป็นการช่วยส่งพละกำลังของรถให้ขึ้นเขาอย่างง่ายดาย แต่หลายคนชอบเร่งๆหยุดๆ ถือว่าไม่ดีเอาซะเลย เพราะจะทำให้แรงส่งไม่เพียงพอและทำให้รถไหลลงมาชนรถคันหลังได้ และยังช่วยในการประหยัดน้ำมันอีกด้วย
-
แตะเบรคเป็นระยะ
ในการขับรถขึ้นลงเขา แรงขับเคลื่อนของรถยนต์ ไม่เพียงพอที่จะฉุดให้รถไหลช้าได้ แต่การแตะเบรคสามารถช่วยให้รถชะลอความเร็วได้ แต่ไม่ควรแตะเบรคเป็นระยะเวลายาวนาน ควรจะเบรคจังหวะที่จำเป็นๆเท่านั้น เพราะจะทำให้เบรคไหม้ และเป็นที่มาของผ้าเบรคไม่มีและเบรคไม่อยู่ ถือว่าอันตรายมาก ดังนั้นควรตรวจสอบรถยนต์ก่อนเดินทางขึ้นลงเขาทุกครั้ง ช้าหน่อยแต่ปลอดภัย
-
ลากรถเกียร์ออโต้ได้ไหม
เป็นคำถามที่บางคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำ แต่บอกเลยว่าถ้าลากรถเกียร์ออโต้ ผิดวิธีเกียร์พังแน่นอน ดังนั้นเรามาดูกันว่าลากรถยนต์ เกียร์ออโต้ ได้ไหม เพราะกลัวว่าถ้าลากรถด้วยเกียร์ N ไปยาวๆแล้วเกียร์จะพังนะสิครับ
คำตอบ ต้องบอกก่อนว่าถ้าต้องการลากรถเกียร์ออโต้ จะแนะนำให้เป็นทางเลือกที่สอง เพราะแนะนำเรียกรถยกมาเลยดีกว่าครับ แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ลากได้ครับ แต่ควรยกหน้ารถลอยขึ้น และถ้าเกิดมีล้อเสริมล้อหลังก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีครับ ถ้าไม่มีก็ใช้วิธียกหน้าลอยเอาครับ ล้อที่ใช้ขับเคลื่อน แนะนำว่าการลากรถเกียร์ออโต้ควรใช้ความเร็วที่ 50 กิโลเมตร/ชั่วโมง แล้วถ้าเกิดลากแบบไม่ยกล้อหน้าหลังเลยล่ะ บอกเลยว่าได้ครับแต่ต้องระยะทางใกล้ๆเท่านั้น ไม่ฉะนั้นเกียร์ไหม้ ยกชุดเกียร์ใหม่ราคาเกือบเท่าตัวรถเลยนะครับ