ป้ายทะเบียนรถยนต์
ป้ายทะเบียนรถ (Vehicle registration plate) คือ การระบุตัวตนของรถหรือยานพาหนะทางบกประเภทอื่นๆ ตามลักษณะการใช้งาน โดยแยกออกเป็นสีตัวอักษรและสีพื้นหลัง แผ่นป้ายทะเบียนจะทำมาจากโลหะหรือพลาสติก สำหรับใครที่ครอบครองรถยนต์ที่ไม่ได้มีการจดทะเบียนรถถือว่าผิดกฎหมาย
ประเภทป้ายทะเบียนรถยนต์
- ป้ายทะเบียนสีขาว ตัวหนังสือสีดำ คือ รถยนต์ส่วนบุคคล 4 ล้อ ไม่เกิน 7 ที่นั่ง อาทิเช่น รถเก๋ง รถกระบะ และรถบรรทุก
- ป้ายทะเบียนสีขาว ตัวหนังสือสีฟ้า คือ รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง อาทิเช่น รถตู้ หรือ รถกระบะที่มีการต่อเติมดักแปลงเกิน 7 ที่นั่ง
- ป้ายทะเบียนสีขาว ตัวหนังสือสีเขียว คือ รถยนต์ส่วนบุคคลสำหรับบรรทุกของ อาทิเช่น รถกระบะ
- ป้ายทะเบียนสีขาว ตัวหนังสือสีแดง คือ รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล ลักษณะการใช้งานส่วนบุคคลเท่านั้น
- ป้ายทะเบียนสีเหลือง ตัวหนังสือสีดำ คือ รถสาธารณะไม่เกิน 7 ที่นั่ง อาทิเช่น รถแท็กซี่ รถตู้ รถโดยสารประจำทาง
- ป้ายทะเบียนสีเหลือง ตัวหนังสือสีน้ำเงิน คือ รถยนต์สี่ล้อขนาดเล็ก ลักษณะการใช้งานสำหรับรับจ้าง
- ป้ายทะเบียนสีเหลือง ตัวหนังสือสีเขียว คือ รถสามล้อสาธารณะ ลักษณะการใช้งานสำหรับรับจ้าง
- ป้ายทะเบียนสีเหลือง ตัวหนังสือสีแดง คือ รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด
- ป้ายทะเบียนสีฟ้า ตัวหนังสือสีขาว คือ รถกงสุล รถทูต รถองค์การ อาทิเช่น องค์การสหประชาชาติ
- ป้ายทะเบียนสีเขียว ตัวหนังสือสีขาว คือ รถยนต์บริการธุรกิจให้เช่า รถยนต์บริการทัศนาจร อาทิเช่น รถเช่ารายวัน รถเช่ารายเดือน เป็นต้น
- ป้ายทะเบียนสีแดง ตัวหนังสือสีขาว คือ รถเจ้าหน้าที่ตำรวจ
- ป้ายทะเบียนสีแดง ตัวหนังสือสีดำ คือ รถใหม่ป้ายแดง สามารถใช้งานบนถนนในช่วงเวลาพระอาทิตย์ขึ้น – พระอาทิตย์ตก ภายใน 30 วัน
- ป้ายทะเบียนสีดำ ตัวหนังสือสีขาว คือ รถที่ใช้ในงานราชการเท่านั้น อาทิเช่น รถถัง รถหน่วยงานทหาร
- ป้ายทะเบียนสีส้ม ตัวหนังสือสีดำ คือ รถยนต์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม อาทิเช่น รถยนต์ รถสิบล้อ รถรับจ้าง
- ป้ายทะเบียนลายกราฟิก คือ ป้ายประมูลรถยนต์ส่วนบุคคล
ประเภทป้ายทะเบียนรถยนต์ สีพื้นหลังและสีตัวอักษรแตกต่างกัน ลักษณะการใช้งานก็แตกต่างกัน การแยกเป็นประเภทตามลักษณะการใช้งาน เพื่อบ่งบอกถึงการใช้งานที่ถูกกฎหมาย หากใครนำไปใช้งานต่างไปจากที่กำหนด จะถือเป็นความผิดทางกฎหมาย และจะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับปรับในที่สุด ดังนั้นหากรถยนต์ของเราจดทะเบียนเป็นรถประเภทอะไรก็ควรจะใช้งานให้ถูกกฎหมายนะครับ
แนะนำโดย : Easyinsurebroker.com