028019000 [email protected]

การโอนรถยนต์ โอนรถมอเตอร์ไซค์ โอนลอย

สวัสดีครับเพื่อนๆ เมื่อพูดถึง การโอนรถยนต์ โอนรถมอเตอร์ไซค์ โอนลอย ไม่ว่าจะโอนจาก ไฟแนนซ์ มาให้ ภรรยา ลูก หรือตนเอง ซึ่งเป็นการถ่ายกรรมสิทธิ์จากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่ง ส่วนใหญ่จะเกิดจากการซื้อขาย และที่สะดวกนิยมกันส่วนมากก็คือการ โอนลอย โดยการโอนรถ ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ รถบรรทุก หรือรถโดยสาร 

จะต้องแจ้งต่อ นายทะเบียน ในกรณีที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างเจ้าของรถคนเก่าและเจ้าของรถคนใหม่โดยจะต้องเป็นรถที่จดทะเบียนไว้แล้ว

กรณีของการโอนสิทธิ์ในการครอบครองรถยนต์ ที่ไม่นับว่าเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ และไม่ต้องทำการแจ้งต่อนายทะเบียน คือ การเปลี่ยนชื่อของผู้เช่าซื้อ


วิธีการโอนรถยนต์

หากต้องการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์จะต้องนำรถยนต์ไปยื่นเรื่องติดต่อที่ กรมขนส่งทางบก ซึ่งจะต้องไม่เป็น ” รถเถื่อน ” โดยมีวิธีดังนี้

  1. ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่วนงานทะเบียนที่กรอกแบบคำขอและรับโอนรถยนต์ โอนรถมอเตอร์ไซค์ โอนลอย
  2. เมื่อกรอกคำขอการโอนรถเสร็จแล้ว ให้นำเอกสารไปยื่นที่ส่วนงานทะเบียน เพื่อนำรถยนต์เข้าตรวจสอบสภาพ
  3. หลังจากที่ได้ตรวจสภาพรถยนต์เรียบร้อยแล้ว จะมาถึงขั้นตอนการชำระเงินค่าธรรมเนียมและจ่ายภาษีรถยนต์
  4. ขั้นตอนสุดท้ายเจ้าหน้าที่จะให้เรานั่งรอใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ เมื่อได้รับเรียบร้อยแล้วก็ถือเป็นอันเสร็จสิ้น

*ขั้นตอนการโอนรถยนต์ โอนรถมอเตอร์ไซค์ หรือโอนลอย จะใช้เวลาประมาณ 1ชั่วโมง- 2ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับพื้นที่การให้บริการ

ค่าโอนรถยนต์ เท่าไหร่

ค่าโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ หรือ การโอนรถ จะต้องมีค่าธรรมเนียม โดยค่าธรรมเนียมการโอนรถ แต่ละปีอาจจะแตกต่างกัน โดย ค่าธรรมเนียมการโอนรถ ยนต์ มอเตอร์ไซค์ ในปี 2560 หรือ 2017 อ้างอิงจาก pantip.com มีดังนี้

• ค่าคำขอ 5 บาท
• ค่าธรรมเนียมการโอน 100 บาท
• ค่าอากรแสตมป์ ต่อราคาประเมินรถ ทุก 100,000 บาท 500 บาท
*หากประเมินรถเท่ากับ 300,000 ค่าอากรแสตมป์จะเท่ากับ 1,500 บาท  
• ค่าเปลี่ยนป้ายทะเบียน กรณี เปลี่ยนใหม่ 200 บาท
• ค่าเปลี่ยนเล่มทะเบียน กรณี เล่มทะเบียนขาด เก่า ชำรุด 100 บาท

โอนรถใช้เอกสารอะไรบ้าง

เอกสารโอนรถ เป็น หลักฐานในการโอนรถ ที่จะต้องนำไปยื่นให้ต่อเจ้าหน้าที่กรมขนส่ง ไม่ว่าจะเป็น เอกสารประกอบการโอนรถยนต์  จะใช้เอกสารการโอนรถ ดังนี้

เอกสารในการโอนรถยนต์

• ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
• ทะเบียนบ้านของผู้โอนรถ และผู้รับโอนรถ
• สัญญาซื้อขายรถยนต์ สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ 
• หนังสือการจดทะเบียนรถยนต์
• ใบเสร็จในการชำระเงิน ใบเสร็จรับเงิน

สำหรับการ โอนรถยนต์ ผู้โอนและผู้รับโอนรถยนต์จะต้องแจ้งกับนายทะเบียนไม่เกิน 15 วัน โดยเริ่มนับจากวันที่ซื้อขายกัน ซึ่งถ้าไม่แจ้งนายทะเบียน จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม เป็นค่าปรับล่าช้านั่นเอง แต่หากว่าในกรณีเจ้าของรถยนต์เดิม เกิดเสียชีวิตระหว่างทำการโอนรถ ให้ผู้รับโอนรถนำใบมรณะบัตรของเจ้าของรถยนต์คันเดิมมาด้วย

ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองต่อเนื่องหรือไม่ หากมีการโอนรถ

หากรถยนต์คันดังกล่าวมีระยะเวลาการเอา ประกันภัยรถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ แต่มีการโอนรถหลังการทำประกันภัยรถยนต์ ถือว่า ประกันรถยนต์จะคุ้มครองต่อเนื่อง จนกว่าจะสิ้นสุดสัญญากรมธรรม์ แม้จะมีการเปลี่ยนชื่อหรือเจ้าของรถยนต์คันเอาประกันภัย โดยเงื่อนไขที่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่บริษัทประกันภัยรถยนต์ คือ ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่บริษัทประกันภัยทราบทันทีหลังมีการโอนรถหรือเปลี่ยนชื่อเจ้าของรถ เพื่อจะได้เปลี่ยนชื่อในสัญญากรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ให้ถูกต้องตามชื่อเจ้าของรถคนใหม่ แต่หากว่าไม่มีการแจ้งเจ้าหน้าที่บริษัทประกัน เมื่อเกิดเหตุการณ์ผู้ขับขี่จะต้องเสีย ค่าเสียหายส่วนแรก ในอัตราที่กำหนด


เอกสารการโอน มอเตอร์ไซค์

• ใบโอนลอย หรือ เอกสารการโอนลอย
• ใบมอบอำนาจ หรือ เอกสารการมอบอำนาจ
• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของรถคนเก่า พร้อมเซ็นสำเนาถูกต้อง
• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของรถคนใหม่ พร้อมเซ็นสำเนาถูกต้อง
• สมุดคู่มือจดทะเบียน เล่มเขียว ฉบับจริง พร้อมเซ็นหน้าเจ้าของเดิม 

วิธีการโอนรถ มอเตอร์ไซค์

• ตรวจสภาพรถมอเตอร์ไซค์ ทุกครั้งก่อนทำการโอนรถ หรือเปลี่ยนชื่อเจ้าของรถ
• เดินทางไปยัง สำนักงานขนส่ง ที่เจ้าของคนเก่าได้จดทะเบียนเอาไว้
• ติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ เพื่อให้เจ้าหน้าที่จัดการเอกสารให้ โดยจะเสียค่าอากรแสตมป์ 10 บาท
• หลังจากที่เสีย ค่าอากรแสตมป์การโอนรถ เราจะได้บัตรคิว เพื่อนั่งรอทำการตามคิวที่เรียก
• เมื่อถึงคิวของเราให้ยื่นเอกสารที่เตรียมไว้ให้กับเจ้าหน้าที่ โดยจะต้องชำระหรือ จ่ายค่าโอนรถมอเตอร์ไซค์ เป็นจำนวน 280 บาท ( โดยราคาจะขึ้นอยู่กับทางเจ้าหน้าที่ประเมินสภาพรถ )

เห็นไหมละครับว่า การโอนรถมอเตอร์ไซค์ ไม่ว่าจะเป็น โอนรถที่กรมขนส่ง หรือ โอนลอย สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงเท่านี้ก็เสร็จสิ้นภายในไม่กี่นาที ขึ้นอยู่กับพื้นที่การให้บริการ และจำนวนคนที่ดำเนินเรื่องด้วยนะครับ


โอนรถยนต์ข้ามจังหวัด โอนรถมอเตอร์ไซค์ข้ามจังหวัด

• ขั้นตอนแรกให้เราเดินทางไปที่กรมขนส่งตามจังหวัดที่เราต้องโอนชื่อไป
• เตรียมเอกสารการโอนรถ ที่แนะนำไปข้างต้นให้พร้อม และติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินเรื่องที่ กรมขนส่งทางบก
• เมื่อถึงกรมขนส่งทางบกจะต้องนำรถเข้าไปประเมินสภาพ หรือตรวจสภาพรถ เพื่อประเมินราคา และตรวจหมายเลขตัวเครื่อง ตัวถังรถ เพื่อให้ตรงกับทะเบียนที่ได้จดเอาไว้ในตอนแรก
• รอการดำเนินเรื่องการโอนข้ามจังหวัด ภายในระยะเวลา 3 วัน
• เมื่อทำเรื่องโอนเสร็จสิ้น จะต้องชำระเงินและรับป้ายใหม่ ซึ่งอาจจะได้เลยหรือรอถึง 15 วันทำการ
• โดยราคาที่ต้องจ่ายในการโอนรถข้ามจังหวัด จะประเมินราคารถ 100,000 บาท เท่ากับ 500 บาท
• เฉลี่ยค่าใช้จ่าย ไม่เกิน 2,000 บาท โดยค่าใช้จ่ายดังนี้ = ค่าดำเนินเรื่อง ตรวจสภาพรถ ค่าโอนรถ

เอกสารโอนข้ามจังหวัด

• สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมกับการเซ็นสำเนาถูกต้อง
• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของรถคนเดิม และเจ้าของรถคนใหม่ พร้อมกับการเซ็นสำเนาถูกต้อง
• สัญญาซื้อขาย (กรณีนี้อยู่ที่เจ้าหน้าที่จะเรียกดูหรือไม่ก็ได้)

การโอนลอย

โอนลอย คือ การที่ผู้ขายรถยนต์หรือรถมอเตอร์ไซค์ขายมอบให้แก่ผู้ซื้อโดยไม่มีการดำเนินการจดทะเบียนที่สำนักงานขนส่ง โดยทางราชการจะถือว่าเป็นการโอนที่ไม่ใช่การดำเนินงานทางราชการ หมายถึง การขายรถยนต์หรือรถมอเตอร์ไซค์แก่ผู้ซื้อ โดยกรอกรายละเอียดลงลายมือชื่อ คำขอโอนและรับโอน และมอบรถให้กับผู้ซื้อเลย พร้อมทั้งเอกสารต่างๆของผู้ขาย เช่น เล่มทะเบียนรถ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำนักงานทะเบียนของผู้ขาย หนังสือมอบอำนาจที่ผู้ขายลงลายมือชื่อเอาไว้นั่นเอง ซึ่งจะเป็นกรณีที่ไม่สะดวกในการเดินทางมา ณ สำนักงานขนส่ง 

ข้อดีของการโอนลอย

  1. สะดวกสบายในการซื้อ หรือขาย รถยนต์มือสอง
  2. ไม่ต้องเดินทางมากรมขนส่งทางบก
  3. สามารถเปลี่ยนชื่อผู้รับโอนได้ตลอดเวลา

ผลเสียของการโอนลอย

  1. ถ้าบัตรประจำตัวประชนชนของผู้ขายสิ้นอายุ จะเกิดปัญหาในการโอนกับนายทะเบียนกรมขนส่งทางบก ผู้ซื้อจะต้องตามตัวผู้ขาย และจะต้องหาสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่ไม่สิ้นอายุมาใหม่ ถ้าเกิดว่าเจ้าของหรือผู้ขายคนเดิม เสียชีวิต จะไม่สามารถโอนรถได้ เพราะไม่มีเอกสารมายืนยันนั่นเอง ซวยเลยงานนี้
  2. หากผู้ซื้อนำรถไปก่ออาชญากรรม หรือขนยาบ้า แรงงานต่างด้าว สิ่งผิดกฎหมาย และรถยังไม่ได้ไปจดทะเบียนโอนรถที่กรมขนส่งทางบก ตำรวจจะสืบว่าใครเป็นเจ้าของรถ ซึ่งก็คือผู้ขายนั่นเอง จะโดนนำตัวไปให้ปากคำหรือตั้งข้อหา ซวยไม่เท่าไหร่ ติดคุกฟรีขึ้นมาดูไม่คุ้มเลย
  3. ถ้าเกิดว่าคนที่ซื้อรถของเราไป ไม่เคยไปต่อทะเบียน หรือ เสียภาษี ต่อภาษีรถ ทางราชการจะถือว่า ผู้ขายเป็นคนค้างชำระภาษีป้ายวงกลมนั่นเอง

เป็นยังไงกันบ้างครับ สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับ การโอนรถยนต์ โอนรถมอเตอร์ไซค์ โอนลอย ที่ผมได้แนะนำไปข้างต้น ซึ่งอาจจะเป็นบทความที่ยาวหน่อยแต่เชื่อได้เลยว่าครบเครื่องเรื่องโอนรถเลยทีเดียว หากเป็นประโยชน์ก็สามารถแชร์ให้เพื่อนๆอ่านได้เลยนะครับ ด้วยความหวังดี จากทีมงาน easyinsurebroker.com